วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

129.การเลือกซื้อหนังสือนิทานภาษาอังกฤษจากประสบการณ์

วันนี้ เล็กขอใช้พื้นที่นี้ในการเขียนบล็อกแนะนำการเลือกและการใช้นิทานภาษาอังกฤษ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกันนะคะ โดยสรุปจากประสบการณ์ตัวเอง อาจจะไม่ถึงขั้นกับเป็นหลักการอะไร แต่คิดว่าพอจะเป็นแนวทางได้บ้าง

อย่างที่เคยแนะนำประเภทนิทานภาษาอังกฤษไว้แล้ว ในบล็อกแนะนำร้าน
http://goo.gl/R6DzkF

1.บอร์ดบุ๊ค
2.ปกแข็ง
3.ปกอ่อน
4.วรรณกรรม

ที่จริงไม่อยากเอาเกณฑ์อายุมาวัดว่า หนังสือชนิดไหนเหมาะกับเด็กอายุเท่าไร เพราะว่าเด็กแต่ละคนพัฒนการไม่เหมือนกัน และความชอบต่างกัน พฤติกรรมต่างกัน  พ่อแม่อย่างเราเป็นผู้กำหนด หรือ ผู้เลือกหนังสือให้ลูกอยู่แล้วตอนลูกยังเล็ก เนื่องจากเด็กยังบอกความต้องการตัวเองไม่ได้ ดังนั้นเราต้อง

1.ถามตัวเองว่าอยากให้ลูกรู้เรื่องอะไร หรืออยากจะสอนเรื่องอะไร แล้วมันมีนิทานที่ตรงกับเรื่องนั้นหรือไม่ ขอตอบว่า "มี" เพราะว่าผู้เขียนนิทานส่วนใหญ่มีลูก และมักจะเอาเรื่องของตัวเองที่สอนลูกมาเขียนเป็นนิทาน เรียกว่าเป็นประสบการณ์ของผู้เขียนเองเลย

        **เค้าชอบฟังเพลงและร้องเพลง ก็จะมีหนังสือที่สอนการแสดงนิ้วมือเล็กๆน้อยๆประกอบเพลง เพื่อเพิ่มความสนุกสนานกับเด็กน้อย

                                      


 **เมื่อเค้าถึงเวลาเลิกจุกนมหลอก ก็จะมีหนังสือเกี่ยวกับการเลิกจุกนม

        **ถ้าคุณแม่ต้องการสอนเรื่องเกี่ยวกับคำตรงข้าม เราสามารถหยิบของมาให้ดูแล้วพูดได้เลย เช่น  Big / Small โดยไม่ต้องแปล หนังสือก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เราสามารถนำมาใช้สอนลูกทางอ้อมได้อีก

        **หลังจากนั้นคุณแม่อาจจะอยากสอนการเปรียบเทียบ ขั้นกว่า (-er) ขั้นสูงสุด (-est)  ก็ยังมีหนังสือทำนองนี้อีกด้วย ให้ลูกรู้จักคำเหล่านี้โดยไม่ต้องแปล เช่น Taller / Longer / Smallest / Loudest

        **เกี่ยวกับช่วงเวลา  Today / Tomorrow/ Now / Later / Day / Morning / Afternoon / Breakfast / Lunch / Dinner

       **ระหว่างทางคุณแม่อาจจะอยากสอนลูกเรื่องเพื่อนๆ หรือสัตว์ต่างๆ ก็มีให้เลือกมากมายเช่นกัน

       **เล่นเกมทายปัญหากัน

       **เรื่องอาชีพที่อยากให้ลูกได้เรียนรู้

2.เลือกประเภทหนังสือให้เหมาะกับลูก
เด็กเล็กที่ยังมีพฤติกรรมฉีกหนังสือ ควรเลือกบอร์ดบุ๊ค
เพื่อป้องกันการฉีกขาด นอกจากนั้นกระดาษที่หนายัง

ป้องกันการพับ ยับ เป็นรอยได้อีกด้วย

3.การเลือกประโยคในหนังสือมาพูดกับลูกบ่อยๆ หลังจากอ่านจบไป และนำมาฝึกใช้เรื่อยๆ จะทำให้เกิดความคล่องและลื่นไหล ในที่สุดจะเกิดเป็นความเคยชินที่จะพูดในสถานการณ์เช่นนั้น

4.บางครั้งนิทานเรื่องที่อยากได้ หาไม่ทันความต้องการในขณะนั้นๆ
เหตุการณ์ที่เกิดกับลูกทุกวัน ยังไงต้องหมุนเวียนมาอีกหลายๆครั้ง ไม่ต้องรีบค่ะ ยังไงเหตุการณ์ต่างๆที่จะสอนลูก จะซ้ำๆกันอยู่แล้ว เราก็ค่อยๆหาหนังสือไปค่ะ

5.ส่วนเมื่อเด็กโตขึ้นพูดหรือบอกความต้องการได้แล้ว เราอาจจะถามลูกว่า อยากได้แบบไหน แต่แล้วในที่สุด คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องรู้ว่าลูกชอบแนวไหน เช่น หุ่นยนต์ รถบรรทุก นางฟ้า  โดร่า บาร์นี สัตว์ ช้าง แกะ กบ

6. ความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวของเด็กจะมากขึ้นตามอายุ เราต้องตามให้ทันกับความต้องการเค้า บางครั้งก็อาจะต้องปรับหนังสือจากพวกบอร์ดบุ๊ค ปกแข็ง เป็นปกอ่อน และหนังสือหัดอ่านบ้าง เพื่อไม่ให้ซ้ำหรือเบื่อ

การอ่านหนังสือมีประโยชน์มากมาย
1.เพิ่มคลังศัพท์
2.เรียนรู้การเปิดหนังสือ ต้องเปิดจากขวาไปซ้าย
3.ได้เรียนรู้ สำนวน การใช้ประโยคต่างๆ
4.เรียนรู้เรื่องแกรมม่าจากหนังสือ
5.มีจินตนาการกว้างไกล
6.ได้พื้นฐานการอ่านดีกว่าคนอื่น
7.มีสมาธิ
8.สร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก
9.หลับฝันดี

อย่าลืมชี้นิ้วตามประโยคที่อ่านไปด้วย เด็กจะได้สังเกตคำต่างๆพร้อมมองรูป และประสานกับเสียงที่แม่อ่านหนังสือให้ฟัง สร้างเป็นจินตนาการต่อยอดไปได้ไกล หลังจากที่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมานาน เมื่อถึงเวลาที่เค้าจะอ่านหนังสือเอง หรือเริ่มเขียน เค้าจะคุ้นเคยกับตัวอักษร หรือ คำ ทำให้ปัญหาเรื่องการท่องศัพท์ สะกดคำ น้อยลงไปมาก

หนังสือทุกเล่มมีคุณค่าในตัวมันเอง และจะมีแฝงการสอนอะไรบางอย่างอยู่ในนั้นเสมอ
อ่านแล้วพยายามจับใจความที่ผู้เขียนต้ิองการสื่อ
อย่าลืมชวนกันอ่านหนังสือเยอะๆนะคะ เพื่อเด็กไทยก้าวสู่ AEC ค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น